วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

งานเขียนบทความจากการสืบค้นในแหล่งเรียนรู้บนเว็บ

บทความเรื่อง
ฝึกการจำที่มีความคงทน

            ลองจินตนาการว่าอะไรจะเกิดขึ้น  ถ้าเราไม่สามารถจำสิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นได้  เช่น  คุณไม่สามารถจำชื่อของคุณได้  คุณมองภาพของคุณในกระจกแต่คุณรู้สึกว่าเป็นภาพคนแปลกหน้าที่คุณไม่คุ้นเคย  นอกจากนี้คุณยังไม่สามารถอ่านข้อความในย่อหน้าต่อไปได้  เพราะว่าคุณจำตัวอักษรไม่ได้หรือไม่เข้าใจความหมายของคำ  ถ้าคุณสูญเสียความจำไปทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นสิ่งที่แปลกและใหม่สำหรับคุณและจะทำให้คุณมีความยากลำบากในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากเนื่องจากคุณไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ถ้าคุณขาดความจำ
          ในการฝึกความจำ ทุก ๆคนย่อมปรารถนาจะฝึกให้มีความจำดี เช่น นักปาฐกถาต้องการจำเค้าโครงการพูด นักเรียนต้องการจดจำสิ่งที่ครูสอน ซึ่งการจำที่ดี และคงทนต่อการเรียนรู้นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองมากที่สุด ในการฝึกการจำที่ดีก็มีหลากหลายเทคนิค  เช่น  เทคนิคการจำในเวลาอ่านหนังสือ คือ  1. ต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อน        2. แยก หมวดหมู่แต่ละวิชา ก่อน-หลัง แล้วหาที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบ 3. เตรียม ดินสอ/ปากกา สมุด และปากกาเน้นข้อความไว้ และ 4. ในการอ่านหนังสือ ควรเลือกเวลาที่รู้สึกว่าสมองเราพร้อมจะทำงาน (http://www.oknation.net/blog/ print.php?id=216289)ในการฝึกความจำจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ ความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว ซึ่งความจำระยะสั้น หมายถึง จำหลังจากรับรู้สิ่งเร้าแล้วเพื่อนำมาใช้งาน ความจำนี้จำได้นาน 20 ถึง 30 วินาที หากไม่มีการทบทวน ข้อมูลที่จำแต่ละครั้งมีประมาณ 7 + 2 หน่วย หากมากกว่านี้อาจรวมหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อให้เหลือน้อยหน่วยก็จะจำได้ง่ายขึ้น เช่น ต้องจำ 413679021854 ซึ่งจำลำบาก เพราะมีถึง 12 หน่วย ถ้ารวมเป็น 413 679 021 854 ก็จำได้ง่ายขึ้น เพราะมีเพียง 4 หน่วยใหญ่เท่านั้น แต่ละหน่วยใหญ่นี้เรียกว่า Chunk (http://www. mitrprasarn. com/index.php/2010-02-03-13-06-48/123-2010-10-28-18-34-44/1506---short-term-memory-stm-) ส่วนความจำระยะยาว หมายถึง ความจำถาวร พร้อมที่จะนำออกมาใช้งานได้ทันทีโดยอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. จำความหมายจากภาษาหรือสัญลักษณ์ 2. จำเรื่องราวหรือเหตุการณ์ สถานที่ วัน เวลา ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และ 3. จำกระบวนการหรือวิธีการหรือการปฏิบัติ (http://www.mitrprasarn.com/index.php/2010-02-03-13-06-48/123-2010-10-28-18-34-44/1491---long-term-memory-ltm-)

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความ: มัลติมีเดียแห่งการเรียนรู้

มัลติมีเดียแห่งการเรียนรู้
นางพรนารี ปองนะที
รหัส 539400205
บทนำ
ปัจจุบันความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เอื้อให้นักออกแบบสื่อ มัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อต่างๆ ให้มารวมกันบนระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้พัฒนาขึ้นพร้อมกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและ บันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจำให้มีขนาดที่เล็กลงแต่มีความจุมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงสำคัญต่างๆ เพื่อให้ติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน มัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษาในอนาคต ทั้งนี้เพราะว่ามัลติมีเดียสามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี กราฟิก ภาพถ่ายวัสดุตีพิมพ์ ภาพยนตร์ และวีดีทัศน์ ประกอบกับสามารถที่จะจำลองภาพของการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

              เมื่อกล่าวถึงคำว่า มัลติมีเดีย”(Multimedia) มักจะมีความหมายที่ค่อนข้างกว้างไกล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่จะนำมัลติมีเดียไปใช้งานตามความต้องการ ในมุมมองของนักการศึกษา อาจหมายถึง การนำสื่อหลากหลายประเภทมาใช้จัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอน สำหรับคำว่า มัลติ” (Multi) หมายถึง หลายๆ อย่างผสมรวมกัน (ซึ่งมีศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น Many, Much และ Multiple) ส่วนคำว่า มีเดีย” (Media) หมายถึง สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เมื่อนำมารวมกันเป็นคำว่ามัลติมีเดียจึงหมายถึง การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น (Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) และได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
                การใช้มัลติมีเดียทางการเรียนการสอน ก็เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียน และตอบสนองรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน การจำลองสภาพการณ์ ของวิชาต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง โดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี นักเรียนอาจจะเรียนหรือฝึกซ้ำได้ เช่น การใช้มัลติมีเดียในการฝึกภาษาต่างประเทศ โดยเน้นเรื่องการออกเสียงและฝึกพูด เป็นต้น ในการใช้มัลติมีเดียเพื่อเป็นวัสดุทางการสอนทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วัสดุการสอนธรรมดา และสามารถเสนอเนื้อหาได้ลึกซื้งกว่าการสอนที่สอนตามปกติ อาทิการเตรียมนำเสนอไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และใช้สื่อประเภทภาพประกอบการบรรณยาย และใช้ข้อความนำเสนอในส่วนรายละเอียดพร้อมภาพเคลื่อนไหวหรือใช้วีดิทัศน์เช่นนี้แล้วก็จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีนักการศึกษา แฮทฟิลด์และบิตเตอร์ (Hatfield and Bitter.1994) ได้กล่าวถึงคุณค่าของมัลติมีเดียที่ใช้ในการเรียนการสอนว่า มัลติมีเดียสามารถส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง เป็นแบบจำลองการนำเสนอหรือตัวอย่างที่เป็นแบบฝึก และการสอนที่ไม่มีแบบฝึกซึ่งจะมีภาพประกอบและมีปฏิสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น มัลติมีเดีย    เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถจัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการเรียนน้อย ดังนั้นจึงอาจสรุปคุณค่าของมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนที่มีขอบเขตกว้างขวาง เพิ่มทางเลือกในการเรียนการสอน สามารถตอบสนองรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกันได้สามารถจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่าง ๆ เพื่อการเรียนรุ้ได้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง สามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี และนักเรียนสามารถที่จะเรียนหรือฝึกซ้ำได้ จึงกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทางการเรียนและการสอน
สรุป
มัลติมีเดียโดยมากจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียน และตอบสนองรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกันของนักเรียน และด้วยการออกแบบโปรแกรมแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อให้สามารถนำเสนอสื่อได้หลายชนิดตามความต้องการของผู้เรียน จึงตอบสนองการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุกได้ ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนลงมือปฏิบัติจริง และสามารถที่จะทบทวนความรู้ต่าง ๆ หรือฝึกเรียนซ้ำได้ส่วนการใช้มัลติมีเดียเป็นสื่อทางการสอน จะเป็นการส่งเสริมการสอนที่มีลักษณะการสอนโดยใช้สื่อประสม ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ้งกว่าการบรรยายปกติ จึงอาจกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียจะกลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา.  ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ
                  กระทรวงศึกษาธิการ. 2544
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. หลักการ ทฤษฎีการออกแบบและการประเมิน Multimedia CAI เข้าถึงได้
                 http://met.fte.kmutnb.ac.th/images/image/cai%20paper.pdf
___________________. สื่อประสม.” เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ
                นครเหนือ, 2538.

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

จิตวิทยาการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการเรียนมัลติมีเดีย

บทนำ
การเรียนการสอนเป็นกระบวนการให้ความรู้และจัดประสบการณ์แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำสื่อการเรียนการสอนมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลความพร้อมและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในบรรดาสื่อการเรียนการสอน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนมากขึ้น โดยผู้สอนเป็นผู้ใช้เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียน หรือผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง ทั้งนี้เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ผู้สอนสามารถสร้างสรรค์และออกแบบการเรียนการสอนได้หลากหลาย เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์การเรียนการสอนและผู้เรียน การนำเสนอเนื้อหามีความสนุกสนานและเร้าความสนใจได้มากจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตบทเรียนที่มีลักษณะเป็นสื่อแบบประสมสื่อหลายรูปแบบในรูปของข้อความตัวอักษร เสียง ภาพนิ่งกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวที่เรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะมัลติมีเดียเสนอเนื้อหาในห้องเรียนที่เชื่อมต่อกับเครื่องวิดีโอโปรเจคเตอร์เพื่อเสนอภาพขนาดใหญ่บนจอภาพแทนมอนิเตอร์ขนาดเล็กนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากสามารถดูข้อความและภาพ รวมทั้งฟังเสียงได้อย่างทั่วถึง

ความหมายของ มัลติมีเดีย
มัลติมีเดีย หมายถึง การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ (ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. 2546)

การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีในการออกแบบ CAI เพื่อการเรียนการสอน
ในการจะพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียให้มีประสิทธิภาพที่ดีนั้น การออกแบบการเรียนการสอน ผู้ที่ออกแบบได้ดีควรมีพื้นฐานความรู้ด้านหลักการและทฤษฏีการเรียนรู้ และทฤษฏีการสอน หลักการและทฤษฏีดังกล่าวเกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าและการวิจัยของนักจิตวิทยาการศึกษาเกือบทั้งสิ้น ซึ่งทฤษฏีมีความสำคัญและจำเป็นสำหลับการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม มีนักจิตวิทยาหลายท่านที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ เดวิค พี ออซุเบล ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย Gestalt Psychologist  ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ (CognitiveTheory) โคท์เลอร์ (Kohler, 1925) การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning) Jero Brooner ทฤษฏีการเรียนรู้แบบค้นพบ Piaget ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา 

การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีปัญญานิยมออกแบบ CAI ในการเรียนการสอน
1.  หลักการและแนวคิดของทฤษฎีปัญญานิยม นำมาใช้ในการออกแบบบทเรียน CAI
1.1.    ใช้เทคนิคเพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน โดยการผสมผสานข้อมูล และการออกแบบ Title ที่เร้าความสนใจ
1.2.    ควรสร้างความน่าสนใจในการศึกษาบทเรียนอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
1.3.    การใช้ภาพและกราฟิกประกอบการสอนควรต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับเนื้อหา
1.4.    คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในแง่ของการเลือกเนื้อหาการเรียน การเลือกกิจกรรม

2.  การเรียน การควบคุมการศึกษาบทเรียน การใช้ภาษา การใช้กราฟิกประกอบบทเรียน
2.1.    ผู้เรียนควรได้รับการชี้แนะในรูปแบบที่เหมาะสม หากเนื้อหาที่ศึกษามีความซับซ้อน หรือมีโครงสร้างเนื้อหาที่เป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กัน
2.2.     ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่สัมพันธ์กับความรู้ใหม่ในรูปแบบที่เหมาะสม
2.3.    กิจกรรมการสอนควรผสมผสานการให้ความรู้ การให้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ หาคำตอบ
2.4.    สร้างแรงจูงใจโดยเน้นความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากความสำเร็จในการเรียนรู้

3.  การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
3.1.   ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ และเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
3.2.    ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้สามารถตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
3.3.   การให้การเสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3.4.   ช่วยครูให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดี  ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว  แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ   เช่น  แรงจูงใจ  ทัศนคติ  หรือ อัตมโนทัศน์ของผู้เรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
3.5.    ช่วยครูในการปกครองชั้นเรียน  และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

สรุป
บทสรุปเพื่อการนำไปใช้คือแนวคิดทางด้านจิตวิทยาปัญญานิยมที่กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น ถือได้ว่าเป็นแนวคิดสำคัญ เพราะทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยมเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียนช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียนแนวคิดทางด้านจิตวิทยาปัญญานิยมสามารถส่งผลต่อการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังนั้นผู้สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกท่านควรที่จะศึกษา และนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อให้ได้มาซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีคุณภาพ

เอกสารอ้างอีง
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. ความรู้เกี่ยวกับ สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ
                  กระทรวงศึกษาธิการ, 2544.
ทวีศักดิ์  กาญจนสุวรรณ.  Multimedia ฉบับพื้นฐาน.  บริษัทเคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด.
                    กรุงเทพฯ. 2546

ลัดดา ศุขปรีดี. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง แสงและสี (The development of
                    multimedia computer instruction program on “Light and Color). วารสารศึกษาศาสตร์
                   ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2548
 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม. เข้าถึงได้ http://www.learners.in.th/blog/primary/427887 (ค้น 20/09/54)

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คำชี้แจง                 โปรดทำเครื่องหมาย ü ในช่องคะแนนที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด
(5 = เหมาะสมดีมาก, 4 = เหมาะสมดี, 3 = พอใช้, 2 = เหมาะสมน้อย, 1 = ควรปรับปรุง)
ประเด็นการประเมิน
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
1.  ด้านเนื้อหา





1.1 ความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์





1.2 การนำเสนอเนื้อหามีความต่อเนื่อง





1.3 ความสอดคล้องของเนื้อหากับผู้เรียน





2.  ด้านเทคนิคการสอน





2.1 มีการนำเสนอเนื้อหาจากง่ายไปหายาก





2.2 การโต้ตอบกับบทเรียนทำได้ง่าย





2.3 การจัดตำแหน่งของข้อมูลเหมาะสม





2.4 บทเรียนเร้าความสนใจผู้เรียน





2.5 การประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์





2.6 วิธีการรายงานผลคะแนน





3.  ด้านการออกแบบหน้าจอ





3.1 ภาพที่ใช้ประกอบเนื้อหาเหมาะสม





3.2 เสียงดนตรีที่ใช้สอดคล้องกับการนำเสนอเนื้อหา





3.3 การแสดงข้อมูลบนจอภาพมีคุณภาพ





3.4 การควบคุมบทเรียนโดยผู้เรียนมีความเหมาะสม





3.5 การสรุปบทเรียน






ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………

                                                                                                                                ลงชื่อ ……………….. ผู้ประเมิน
                                                                                                                                     (………….……………….)

สมาชิกในกลุ่ม
1. Miss. Somechit SENGPHASITSAY
2. Mr. Sonephet THONGPADITH
3. Mrs. Phonenaly PONGNATHY